หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
*****************************************

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

         - แผนการศึกษาภาคปกติ

         - แผนการศึกษาภาคสมทบ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) และอนุปริญญา สาขาวิชานิติศาสตร์

         - แผนการศึกษาภาคปกติ

         - แผนการศึกษาภาคสมทบ

ชื่อมหาวิทยาลัย   :    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่เลขที่ 18/18 กิโลเมตรที่ 18 ถนนเทพรัตน ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws
 
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) 
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws (LL.B.)
 
หน่วยงานที่ให้การรับรองหลักสูตร
1. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา รับรองหลักสูตรภาคปกติ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 และรับรองหลักสูตรภาคสมทบ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561
2. สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ รับรองหลักสูตรเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552
 
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Programme Learning Outcomes: PLOs)   
PLO 1 เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านกฎหมายพื้นฐานและกฎหมายเฉพาะแขนงต่าง ๆ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน โดยเฉพาะด้านการให้คำแนะนำกฎหมาย การเจรจาต่อรอง การร่างสัญญาพื้นฐาน การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย และการว่าความในศาล
1.1 อธิบายกฎหมายพื้นฐานและกฎหมายเฉพาะทางได้
1.2 สามารถให้คำแนะนำทางกฎหมายได้
1.3 สามารถเจรจาต่อรองข้อพิพาทได้
1.4 สามารถร่างสัญญาพื้นฐาน และจัดทำเอกสารทางกฎหมายได้
1.5 สามารถว่าความในศาลได้
1.6 สื่อสารภาษาไทยที่สามารถนำไปใช้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้
1.7 สื่อสารภาษาต่างประเทศได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ และเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
 
PLO 2 สามารถค้นหาและสรุปข้อเท็จจริง เข้าใจในตัวบทกฎหมายและปรับใช้ตัวบทกฎหมายได้อย่างถูกต้อง สามารถตีความกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ โดยมีทักษะการคิดเชิงเหตุผล การวิเคราะห์สังเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ และการโต้แย้งได้อย่างมีเหตุมีผล
2.1 สามารถค้นหา และสรุปประเด็นข้อเท็จจริงได้
2.2 สามารถประยุกต์ใช้ตัวบทกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน และมีเหตุมีผล
2.3 สามารถวิเคราะห์และตีความตัวบทกฎหมาย สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายได้
2.4 สามารถวิพากษ์วิจารณ์ และโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นได้อย่างมีเหตุมีผล
2.5 สามารถนำเสนอทางเลือกที่เหมาะสม สร้างสรรค์ และนำไปปฏิบัติได้จริง
 
PLO 3 เป็นบัณฑิตที่ยึดมั่นในหลักความยุติธรรม หลักนิติธรรม และมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคม และดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย กับหลักความยุติธรรม และหลักนิติธรรมได้
3.2 ปฏิบัติตนตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเรียนในรายวิชาที่กำหนด และตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
3.3 ปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่ ทั้งหน้าที่ต่อตนเอง ต่องานที่ได้รับมอบหมายและต่อส่วนรวม
3.4 ปฏิบัติตนด้วยความพอประมาณอย่างสมเหตุสมผล และมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต
3.5 แสดงออกถึงความละเอียดรอบคอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
3.6 กล้าแสดงออก และกล้าแสดงความคิดเห็นบนพื้นฐานแห่งความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
3.7 สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้
 
PLO 4 สามารถค้นคว้าและเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ที่ทันสมัย ปรับตัวและเลือกเครื่องมือและวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถนำองค์ความรู้ทางกฎหมายไปใช้ประโยชน์ โดยเชื่อมโยงและบูรณาการกับศาสตร์อื่นที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้
4.1 อธิบายความสำคัญ และคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนได้
4.2 สามารถค้นคว้า และเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ที่ทันสมัยได้ 
4.3 สามารถนำข้อมูลองค์ความรู้ที่ค้นคว้ามาใช้โดยอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง และนำมาใช้โดยไม่กระทบสิทธิของผู้สร้างสรรค์
4.4 สามารถเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี หรือวิธีการที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
4.5 สามารถนำกฎหมายไปใช้แก้ปัญหาร่วมกับศาสตร์อื่น และเสนอแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
 
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร 
1. เป็นผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้เทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต
5. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นที่สังคมรังเกียจ
6. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
 
การรับสมัครผู้เข้าศึกษา  
การคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษายึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. สอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
2. สอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
3. คัดเลือกด้วยวิธีเทียบโอน หรือสอบคุณวุฒิอย่างอื่นแทน
4. รับเข้าตามโครงการพิเศษ
 
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้จริง ปฏิบัติงานได้จริง มีคุณธรรม และอุทิศตนรับใช้สังคม
 
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านกฎหมายให้มีความรู้จริง ปฏิบัติได้จริง และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  
1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทางด้านกฎหมาย ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแขนงต่าง ๆ และเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
2. ผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้กฎหมายได้ถูกต้อง รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจในตัวบทกฎหมาย ทั้งในด้านการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
3. ผลิตบัณฑิตด้านกฎหมายที่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ และมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม
4. บัณฑิตสามารถนำองค์ความรู้ทางกฎหมายไปใช้ประโยชน์ เชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นได้อย่างถูกต้อง
 
ระบบการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดยแบ่งปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ 
ภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 ซึ่งเป็นภาคการศึกษาบังคับ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้ 
 
การดำเนินการของหลักสูตร
วัน - เวลา ในการเรียนการสอน
- ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม
- ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม    
      ภาคปกติ
วันจันทร์ – วันศุกร์  เวลา 08.30 – 18.30 น.
      ภาคสมทบ
วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 18.30 น.
 

เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

1.สอบผ่านทุกรายวิชาตามหลักสูตร
2.มีเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
3.มีผลการสอบภาษาอังกฤษ TOEIC ไม่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ
4.ผ่านการสอบวัดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
5.ไม่มีพันธะติดพันเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ กับมหาวิทยาลัย
*ข้อ 3 และข้อ 4 มหาวิทยาลัยมีการจัดสอบ เทอมละ 1 ครั้ง

 
มาตรฐานที่เทียบเคียงกับหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ได้จัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561