ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2547 ตามมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ได้อนุมัติหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา โดยศาสตราจารย์พิเศษประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อธิการบดีในขณะนั้น เป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดี

คณะนิติศาสตร์จัดการเรียนการสอน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ระยะเวลาศึกษา 4 ปี โดยเริ่มดำเนินการรับนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2547 และได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรจำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2555 และครั้งที่ 4 ในปีพ.ศ.2560 และดำเนินการจัดการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน โดยหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์  ได้รับรองหลักสูตรจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ-บัณฑิตยสภาและสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564 มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 130 หน่วยกิต แบ่งเป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ตลอดจนให้บริการสอนคณะอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เช่น คณะกายภาพบำบัด คณะเภสัชศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม คณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ เป็นต้น รวมทั้งหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ได้แก่ รายวิชา GE2202 กฎหมายกับสังคม ให้แก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยทุกคณะวิชา 

นอกจากนั้นแล้ว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นมา คณะได้ดำเนินการเปิดรับนักศึกษาภาคสมทบ เพื่อรับกลุ่มบุคคลที่ทำงานแล้วและสนใจเรียนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งได้ดำเนินการเปิดรับจนถึงปีการศึกษาปัจจุบัน การจัดการศึกษาของคณะ มีลักษณะเด่นในการมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางกฎหมายควบคู่กับทักษะการปฏิบัติทั้งในการให้คำแนะนำกฎหมาย การเจรจาต่อรอง การร่างสัญญา การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย และการว่าความในศาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานทางกฎหมาย สอบขอรับใบอนุญาตการเป็นทนายความ หรือสอบความรู้เนติบัณฑิตได้ รวมถึงการเป็นบัณฑิตที่มี คุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบอาชีพและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป


ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านกฎหมายให้มีความรู้จริง ปฏิบัติได้จริง และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

ปณิธาน

รู้จริง ปฏิบัติได้จริง และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

วิสัยทัศน์ 

เป็นแหล่งเรียนรู้และบริการด้านกฎหมายชั้นนำในภาคตะวันออก และมุ่งเน้นกฎหมายด้านสุขภาพ กฎหมายเพื่อการพัฒนาสังคม

 

พันธกิจ

1. พัฒนาคณะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านกฎหมายของคนสามวัยในภาคตะวันออก 
2. พัฒนาคณะให้มีความโดดเด่นโดยมุ่งเน้นกฎหมายด้านสุขภาพ และกฎหมายเพื่อการพัฒนาสังคม
3. สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
4. บริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและวิจัย เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และก่อให้เกิดรายได้
5. อนุรักษ์สืบสาน ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมไทย- จีน
6. บริหารจัดการและพัฒนาคณะด้วยหลักธรรมาภิบาล ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

 

เอกลักษณ์
“ด้านจีน”

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ 
1. มุ่งสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านกฎหมายของคนสามวัย
2. พัฒนาหลักสูตร กลุ่มรายวิชา และจัดกระบวนการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นกฎหมายด้านสุขภาพ และกฎหมายเพื่อการพัฒนาสังคม
3. มุ่งเน้นผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
4. บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม และบริการวิชาการที่มีรายได้
5. ทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอันเกิดจากการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม
6. บริหารจัดการคณะ และสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียง และมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน (SDGs)

 

เป้าประสงค์
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและบริการด้านกฎหมายของคนสามวัยในภาคตะวันออก
2. ผลิตนิติศาสตรบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายด้านสุขภาพ และกฎหมายเพื่อการพัฒนาสังคม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติทางด้านวิชาชีพกฎหมาย การสื่อสารภาษาจีน และการใช้เทคโนโลยี
3. เกิดผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางกฎหมายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมได้ ทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับประเทศ
4. ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีงานบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้
5. นักศึกษาและบุคลากรมีจิตสำนึกในความเป็นไทย ตระหนักในคุณค่าและมีส่วนร่วมในการคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมไทย และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
6. คณะพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับในระดับชาติ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน